การจัดการเรียนรู้

 การจัดการเรียนรู้

ความรู้พื้นฐานการจัดการความรู้
          การจัดการความรู้ต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน พรบ. แห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (มาตรา 7) โดยกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้อง เกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง ในระบบแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ  หน้าที่เสรีภาพ ความเคารพกฏหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรมของประเทศชาติ
           การจัดการศึกษา ทั้งการทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความร็ คุณธรรม กระบวนการเรียนร้และบูรณาตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
         1.   ความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
         2.   ความร้และทักษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
         3.   ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
         4.   ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษา
         5.   ความรู้ และในการประกอบอาชีพ

การออกแบบการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ได้บัญญัติเรื่องการจัดการเรียนรู้ในหัวข้อการออกแบบการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา ให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะที่สำคัญ คุณลักษณะที่พึงประสงค์แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งการออกแบบการจัดการเรีนรู้มีหลายรูปแบบในที่นี้ขอเสนอ การออกแบบการจัดการเรียนรู้ 
แบบย้อนกลับ (Backward design) ดังนี้
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนแบบ Backward designขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังนี้
          1.  ออกแบบหน่วยการเรียนรู้
          2.  จัดการผังการประเมินวิเคราะห์ (หาหลักฐานการเรียนรู้)
          3.  การออกแบบการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้
                ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นแนวความคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเกิดการเรียนรู้ หลือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ทฤษฏีการเรียนรู้ 3 กลุ่ม
ช่วงก่อนคริสตวรรษที่ 20
           -   เน้นฝึกจิตหรือสมอง
           -   เน้นไปตามธรรมชาติ
           -   เน้นการรับรู้เชื่อมโยงความคิด
ช่วงคริสตวรรษที่ 20
           -   กลุ่มพฤติกรรมนิยม
                    ทฤษฎีการเชื่อมโยง
                    ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
                ทฤษฎีวัตสัน
                ทฤษฎีสถินเนอร์
                ทฤษฎีพาฟลอบ
                    ทฤษฎีการเรียนรู้
          -   กลุ่มพุทธินิยม
                    ทฤษฎีเกสติลส์ 
                    ทฤษฎีสนาม 
                    ทฤษฎีเครื่องหมายพัฒนาการทางสติปัญญา 
ทฤษฎีเรียนรู้อย่างมีความหมาย
        -   กลุ่มมนุษย์นิยม
               ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์
               ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์
               ทฤษฎีการเรียนรู้ของโคมส์
               ทฤษฎีการเรียนรู้ของโนสส์
               ทฤษฎีการเรียนรู้ของแฟร์
               ทฤษฎีการเรียนรู้ของนีล
               ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่

เรียนรู้และสอนร่วมสมัย
           -   ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล
           -   ทฤษฎีพหุปัญญา
           -   ทฤษฎีเรียนรู้ด้วยตนเอง
           -   ทฤษฎีเรียนด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงานเอง
           -   ทฤษฎีเรียนรู้แบบร่วมมือ

กระบวนการจัดการเรียนรู้

                การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จะต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่
  1.    กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
  2.    กระบวนการสร้างความรู้
  3.    กระบวนการคิด
  4.    กระบวนการสังคม
  5.    กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ไขปัญญา
  6.    กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
  7.    กระบวนการการจัดการ
  8.    กระบวนการการวิจัย
  9.    กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
  10.    กระบวนการปฏิบัติลงมือทำจริง
  11.    กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย

           รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
  2. การจัดการเรียนการสอนแบบแบบ Storyline Method
  3. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์
  4. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
  5. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบโดยใช้เทคโนโลยี
  6. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการพัฒนาแบบกระบวนการคิดด้วยการใช้คำถามหมวกควาคิด 6 ใบ (Six Thingking Hats)
  7. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
  8. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
  9. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสู่พหุปัญญา








  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วิธีสอนแบบเอกัตภาพ

การสอนแบบเอกัตภาพ ( Individualized Instruction )
     การเรียนการสอนแบบนี้ในระดับโรงเรียนเพิ่งเริ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง ในประเทศไทยเริ่มการสอนภาษาอังกฤษแบบนี้ในระดับมัธยมต้น ในปีการศึกษา 2523
     การสอนแบบเอกัตภาพนี้ยึดหลักการสอนแบบบุคคล นั่นคือ เชื่อในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ถือว่าคนทุกคนมีความสามารถไม่เท่ากัน ใครที่เรียนดี เรียนได้เร็วควรจะไปรุดหน้ากว่าคนที่อ่อนและช้า บทเรียนที่จัดขึ้นมีทั้งบทเรียนธรรมดาและบทเรียนสำเร็จรูป ( programmed lessons )
     การสอนแบบนี้ เป็นพัฒนาการของการจัดการศึกษาตามแนวทางใหม่ เป็นการปฏิรูประบบการเรียน การสอน และการจัดห้องเรียนจากแบบเดิมที่มีครูเป็นผู้นำแต่ผู้เดียวมาเป็นระบบที่ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในชั้นเรียนหนึ่ง ๆ โดยการแบ่งออกเป็นมุมต่าง ๆ เช่น มุม oral , reading และ writing แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ สัก 3 – 5 กลุ่มอาจจะใช้ครูผู้สอน 2 หรือ 3 คนช่วยกันสอนเป็น team teachering
     วิธีการเรียนการสอนแบบเอกัตภาพนี้ใช้ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา 2523 โดยใช้ชื่อเรียกสื่อการเรียนการสอนชุดนี้ว่า ชุดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ( Learning Kit ) ”

วิธีการสอนแบบเอกัตภาพ

1. ครูสอนสิ่งที่นักเรียนจะต้องเรียนพร้อมกันทีเดียวทั้งห้องหรือครึ่งห้อง เป็นต้นว่าการออกเสียง ไวยากรณ์ หรือคำศัพท์ สัก 10 – 15 นาที
2. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยสัก 3 – 5 กลุ่ม มีหัวหน้าดูแลความเรียบร้อยแต่ละกลุ่มทำงานตามที่ครูมอบหมายให้ทำด้วยตนเอง ถ้ามีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือจะเข้ามาปรึกษาครูได้เป็นราย ๆ ไป ในครั้งหนึ่ง ๆ นักเรียนอาจจะเลือกทำกิจกรรมมากกว่าหนึ่งอย่างก็ได้ตามความสนใจของตน แต่ครูจะต้องเป็นผู้รับรู้ด้วย
3. การเรียนอ่านและเขียนนั้นเป็นการเรียนด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ครูมีหน้าที่ให้คำแนะนำช่วยเหลือ อธิบายอย่างคร่าว ๆ นักเรียนคนใดเรียนได้เร็ว ทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จเรียบร้อย ครูจะให้ช่วยเหลือหรือแนะนำหรือดูแลการทำแบบฝึกหัดของนักเรียนที่อ่อน
4. แต่ละครั้งนักเรียนเอางานที่สำเร็จแล้วมาให้ครูดู แล้วไปเขียนในสมุดหรือกระดาษรายงานส่วนตัวที่เรียกว่า progress chart เพื่อเป็นหลักฐานว่าในครั้งนั้น ๆ ตนได้ทำงานอะไรไปแล้วบ้าง

ข้อเสีย

1. ถ้ามีนักเรียนหลายคนในห้องเรียน จะต้องอาศัยครูหลายคนจึงจะดูแลนักเรียนได้ทั่วถึง
2. จะต้องอบรมให้นักเรียนมีระเบียบวินัย ซื่อตรงต่อตนเอง สามารถบังคับใจให้ทำงานได้เองโดยไม่มีใครบังคับ
3. บทเรียนที่ใช้มักจะมีราคาแพง เพราะต้องบรรจุกิจกรรมมากอย่างเพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน
4. ครูจะต้องมีความสนใจต่อนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างแท้จริง จึงจะช่วยให้การเรียนเป็นผลสำเร็จ
5. ในห้องเรียนที่นักเรียนมีความสามารถต่างกันมาก ทำให้ยากต่อการเตรียมการสอนในส่วนของบทเรียนที่จะต้องเรียนร่วมกัน เพราะนักเรียนเก่งจะเรียนรู้เกินหน้านักเรียนที่อ่อนไปมากแล้ว แต่จะต้องมาเรียนบทเรียนย้อนหลัง ดังนั้นครูจึงต้องเตรียมบทเรียนเป็นหลายระดับ และสอนแต่ละกลุ่มด้วยเนื้อหาที่ต่างกันออกไป ทำให้ครูทำงานหนักมาก

ข้อดี

1. สามารถจะแก้ปัญหานักเรียนที่มีพื้นฐานความรู้ต่างกันได้
2. นักเรียนได้รับการฝึกภาษาอย่างทั่วถึงกัน เพราะแต่ละกลุ่มเป็นกลุ่มเล็ก
3. นักเรียนอ่อนไม่รู้สึกมีปมด้อยในการเรียน เพราะได้เรียนตามความสามารถของตนเป็นการแข่งขันกับตนเองมากกว่าแข่งกับคนอื่น
4. นักเรียนที่เรียนเก่งไม่รู้สึกเบื่อหน่ายในการที่จะต้องรอนักเรียนที่เรียนช้า มีโอกาสที่จะเลือกกิจกรรมได้มากอย่างตามความสนใจของแต่ละคน

5. ฝึกให้นักเรียนรู้จักการให้และการรับ รู้จักช่วยเหลือเพื่อนร่วมชั้น เป็นการฝึกนิสัยในการที่จะดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วิธีสอนแบบร่วมมือ

รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Instructional Models of Cooperative Learning)

ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ

รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือพัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรูปแบบร่วมมือของจอห์นสัน และจอห์นสัน ( Johnson & Johnson, 1974 : 213 - 240 ) ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่าผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขันกันเพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของ การแพ้-ชนะ ต่างจากการร่วมมือกัน ซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการชนะ-ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านจิตใจและสติปัญญาหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ ประกอบด้วย
      (1) การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพากัน (positive interdependence) โดยถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึ่งพากันเพื่อความสำเร็จร่วมกัน
      (2) การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน มีปฏิสัมพันธ์กัน (face to face interaction)เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล และการเรียนรู้ต่าง
      (3) การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (social skills) โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน
      (4) การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing) ที่ใช้ใน การทำงาน
      (5) การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้ (individual accountability)หากผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบร่วมมือกันนอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนทางด้านสังคมและอารมณ์มากขึ้นด้วย รวมทั้งมีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอีกมาก

ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

         รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ
รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่าง ๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิด การแก้ปัญหาและอื่น ๆ

ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ


        รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีวิธีการดำเนินการหลัก ๆ ซึ่งได้แก่ การจัดกลุ่ม การศึกษาเนื้อหาสาระ การทดสอบ การคิดคะแนน และระบบการให้รางวัล แตกต่างกันออกไปเพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะแต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ต่างก็ใช้หลักการเดียวกันคือหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการและมีวัตถุประสงค์มุ่งตรงไป ในทิศทางเดียวกันคือเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัย การร่วมมือกัน ช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูป จะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษาเนื้อหาสาระและวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัล เป็นประการสำคัญ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วิธีสอนแบบกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์

กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )


1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน ) กลุ่มละ 4 คนและเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (home group)
2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเราได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้
3 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (expert group) ขึ้นมา และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ผู้สอนมอบหมายให้
4 สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเรา แต่ละกลุ่มช่วยสอนเพื่อนในกลุ่ม ให้เข้าใจสาระที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเช่นนี้ สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวมของสาระทั้งหมด

5 ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนนของทุกคนในกลุ่มบ้านของเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย ) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วิธีสอนแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD )

การเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD )

      “ STAD ” คือ “Student Teams Achievement Division” กระบวนการดำเนินการมีดังนี้
1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง - กลาง - อ่อน ) กลุ่มละ 4 คนและเรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มบ้านของเรา(HomeGroup)
2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับเนื้อหาสาระและศึกษาเนื้อหาสาระนั้นร่วมกัน เนื้อหาสาระนั้นอาจะมีหลายตอนซึ่งผู้เรียนอาจต้องทำแบบทดสอบในแต่ละตอนและเก็บคะแนนของตนไว้
3 ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นการทดสอบรวบยอดและนำคะแนนของตนไปหาคะแนนพัฒนาการ (Improvement Score) ซึ่งหาได้ดังนี้
        คะแนนพื้นฐาน : ได้จากค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบย่อยหลาย ๆ ครั้งที่ผู้เรียน แต่ละคนทำได้
        คะแนนพัฒนาการ : ถ้าคะแนนที่ได้คือ
- 11 ขึ้นไป คะแนนพัฒนาการ = 0
- 1 ถึง -10 คะแนนพัฒนาการ = 10
+1 ถึง +10 คะแนนพัฒนาการ = 20
+11 ขึ้นไป คะแนนพัฒนาการ = 30
4.4 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรานำคะแนนพัฒนาการของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกัน เป็นคะแนนของกลุ่ม กลุ่มใดได้คะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด กลุ่มนั้นได้รางวัล

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วิธีสอนแบบกระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )

 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )

          “ G.I. ” คือ “ Group Investigation ” รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยกันไปสืบค้นข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้
1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน ) กลุ่มละ 4 คน
2 กลุ่มย่อยศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน โดย
      ก. แบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ แล้วแบ่งกันไปศึกษาหาข้อมูลหรือคำตอบ
      ข. ในการเลือกเนื้อหา ควรให้ผู้เรียนอ่อนเป็นผู้เลือกก่อน
3 สมาชิกแต่ละคนไปศึกษาหาข้อมูล /คำตอบมาให้กลุ่ม กลุ่มอภิปรายร่วมกัน และสรุปผลการศึกษา

4 กลุ่มเสนอผลงานของกลุ่มต่อชั้นเรียน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS
Design Downloaded from Free Blogger Templates | Free Website Templates
Free Blogger Templates Free Joomla TemplatesFree Blogger TemplatesFree Website TemplatesFree Wordpress Themes TemplatesFree CSS TemplatesFree Wordpress ThemesFree CSS Templates dreamweaver